เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. อุปาลิวรรค 4. อุปสัมปทาสูตร
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วน
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ1
3. ทรงจำปาติโมกข์ทั้งสอง2 ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร
วินิจฉัยได้ดีโดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
4. เป็นผู้ตั้งมั่น ไม่ง่อนแง่นในวินัย
5. เป็นผู้สามารถปรับคู่ความทั้ง 2 ฝ่ายให้ยินยอมกันได้ ให้สำนึกตัว ให้
เพ่งพินิจดู ให้เห็นผล ให้เลื่อมใส
6. เป็นผู้ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น
7. รู้อธิกรณ์
8. รู้เหตุเกิดอธิกรณ์
9. รู้ความดับอธิกรณ์
10. รู้วิธีปฏิบัติเพื่อระงับอธิกรณ์
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล สงฆ์พึงสมมติให้เป็นผู้รื้อ
ฟื้นอธิกรณ์ได้”
อุพพาหิกาสูตร ที่ 3 จบ

4. อุปสัมปทาสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติของภิกษุผู้ให้อุปสมบท
[34] พระอุบาลีทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม
เท่าไรหนอ พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 1 ข้อ 17 (ปฐมนาถสูตร) หน้า 32 ในเล่มนี้
2 ปาติโมกข์ทั้งสอง ในที่นี้หมายถึง มหาวิภังค์ (ภิกขุวิภังค์) ว่าด้วยสิกขาบทในปาติโมกข์ฝ่ายภิกษุ 227 ข้อ
และภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท 311 ข้อฝ่ายภิกษุณี

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :84 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [1. ปฐมปัณณาสก์] 4. อุปาลิวรรค 4. อุปสัมปทาสูตร
ธรรม 10 ประการ อะไรบ้าง คือ
ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยการสังวรในปาติโมกข์ เพียบพร้อมด้วยอาจาระ
และโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษแม้เล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบท
ทั้งหลาย
2. เป็นพหูสูต ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ เป็นผู้ได้ฟังมากซึ่งธรรมที่มีความงามใน
เบื้องต้น มีความงามในท่ามกลาง และมีความงามในที่สุด ประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถและพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ครบถ้วนแล้ว
ทรงจำไว้ได้ คล่องปาก ขึ้นใจ แทงตลอดดีด้วยทิฏฐิ
3. ทรงจำปาติโมกข์ได้ดี จำแนกได้ดี ให้เป็นไปได้ดีโดยพิสดาร วินิจฉัยได้ดี
โดยสูตร โดยอนุพยัญชนะ
4. เป็นผู้สามารถพยาบาลได้เอง หรือให้ผู้อื่นช่วยพยาบาลสัทธิวิหาริกผู้เจ็บไข้
5. เป็นผู้สามารถระงับได้เอง หรือใช้ให้ผู้อื่นช่วยระงับความไม่ยินดี1
6. เป็นผู้สามารถบรรเทาความรำคาญที่เกิดขึ้นได้เองโดยธรรม
7. เป็นผู้สามารถปลดเปลื้องความเห็นผิดที่เกิดขึ้นได้โดยธรรม
8. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิศีล
9. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิจิต
10. เป็นผู้สามารถให้สมาทานอธิปัญญา
อุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการนี้แล พึงให้กุลบุตรอุปสมบทได้”
อุปสัมปทาสูตร ที่ 4 จบ

เชิงอรรถ :
1 ความไม่ยินดี ในที่นี้หมายถึงความเบื่อหน่ายในการประพฤติพรหมจรรย์ ประสงค์จะลาสิกขา (องฺ.ทสก.อ.
3/34/345)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :85 }